วิธีจัดการ ภาษีขายของออนไลน์

รับทำบัญชี อัตราค่าบริการ รายเดือน เริ่มต้น 1,000 บาท ปิดงบ ภงด 50 ภงด 51 โดย CPA ทีมงานคุณภาพ ตรงเวลา ราคาถูก สำนักงานบัญชี กรุงเทพ เชื่อถือได้

วิธีจัดการ ภาษีขายของออนไลน์ 

ณ เวลานี้ไม่มีอาชีพไหนเป็นที่นิยมมากเท่าอาชีพ “ขายของออนไลน์” เนื่องจากทำได้สะดวก หาลูกค้าได้ง่าย และสามารถขายได้โดยไม่ต้องสต็อกสินค้า จึงมีผู้คนสนใจหันมาขายของออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั้งหลาย โดยเฉพาะร้านที่มีการไลฟ์สดขายของ โอกาสที่กรมสรรพากรจะตรวจสอบย้อนหลังมีสูงมาก ดังนั้น ห้ามลืมเสียภาษี ขายของออนไลน์ เด็ดขาด

ภาษีขายของออนไลน์ เป็นภาษีที่ผู้มีรายได้จากการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีนี้ ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์จำเป็นต้องวางแผนจัดการ ภาษีขายของออนไลน์ ของตนเองให้ดี เพื่อช่วยประหยัดภาษี ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้     

ภาษีขายของออนไลน์ที่เกี่ยวข้อง

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สำหรับอาชีพขายของออนไลน์ที่พ่อค้าแม่ค้าขายในนามบุคคลธรรมดา หากมีรายได้ 60,000 ต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดนนำรายได้ตลอดทั้งปี หักลบด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนอื่นๆ (ถ้ามี) โดยจัดอยู่กลุ่มเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 หรือมาตรา 40(8) สามารถหักค่าใช่จ่ายแบบเหมาได้ 60% หรือเลือกหักตามจริง และเสียภาษีในอัตราตั้งแต่ 5-35% (อัตราภาษีก้าวหน้า) ซึ่งสามารถอ่านหลักการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมได้ที่นี่  

ทั้งนี้ จะต้องยื่นภาษีขายของออนไลน์ 2 ครั้ง คือ

– ยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน เป็นการยื่นภาษีกลางปีเพื่อสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา โดยค่าลดหย่อนบางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่ง เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว

– ยื่นภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด.90) ช่วงเดือนมกราคม – มีนาคมของปีถัดไป เป็นการสรุปรายได้ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา

2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล 

กรณีที่พ่อค้าแม่ค้าขายของออนไลน์มีรายได้สูง มักมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยหลักการของภาษีเงินได้นิติบุคคล จะนำกำไรสุทธิที่ได้จากสูตรการคำนวณภาษีคือ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย) = กำไรสุทธิ มาคิดภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 15-20% และยื่นภาษีขายของออนไลน์ 2 ช่วง คือ

– ยื่นรอบครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) โดยต้องยื่นและชำระภาษีภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

– ยื่นรอบสิ้นปี (ภ.ง.ด.50) โดยต้องยื่นแบบและชำระภาษีภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

 

ผลประกอบการเกิน 1.8 ล้านบาท ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อใดก็ตามที่ร้านขายของออนไลน์ และผลประกอบการเกิน 1.8 ล้านบาท ต้องดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยกฎหมายบังคับให้ผู้มีรายได้จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่เกิน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มทุกๆ เดือน นับตั้งแต่วันที่ยื่นจดทะเบียนเป็นต้นไป  

 

ภาษีออนไลน์ E-PAYMENT

ปัจจุบันการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ การโอนเงินเข้าธนาคารผ่านแอพต่างๆ หรือผ่านตู้ธนาคาร รวมถึงฝากเงินเข้าธนาคาร ล้วนมีความสำคัญกับอาชีพขายของออนไลน์เป็นอย่างมาก เพราะเมื่อใดที่มีเงินเข้าธนาคารของพ่อค้าแม่ค้าขายของออนไลน์ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ทางสถาบันการเงินจะมีหน้าที่ส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากร หรือที่เรียกว่าภาษีออนไลน์ E-PAYMENT นั่นเอง 

E-PAYMENT คือการส่งข้อมูลยอดเงินของเจ้าของบัญชีเงินฝากธนาคารทั้งที่เปิดแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลให้แก่กรมสรรพากร หากบัญชีเงินฝากของผู้มีรายได้มีเงินเข้าบัญชีตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง จะถูกส่งข้อมูลให้สรรพากร ดังนี้

– มีเงินเข้าบัญชี 3,000 ครั้งต่อปี ไม่ดูจำนวนเงิน

– มีเงินเข้าบัญชี 400 ครั้งต่อปี โดยนับเฉพาะจำนวนเงินรับฝากเข้า และมีจำนวนเงินที่รับฝากรวมเกิน 2 ล้านบาท

ดังนั้น พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ต้องวางแผนภาษี E-PAYMENT ให้ดี เพราะกรมสรรพากรสามารถทราบรายได้ของเราได้ จึงต้องวางแผนทำบัญชีให้ครบ ถูกต้อง ยื่นข้อมมูลให้ตรงกับข้อมูลที่กรมสรรพากรได้รับด้วย 

 

ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย 

นอกจากภาษีขายของออนไลน์ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว พ่อค้าแม่ค้าขายของออนไลน์ยังจัดอยู่ในกลุ่มที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย เนื่องจากทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการจดทะเบียนธุรกิจสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ทำธุรกิจออนไลน์ และมีเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด โดยกลุ่มกิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่

– การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการผ่านอินเตอร์เน็ตหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ (ร้านค้าออนไลน์)

– การให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP)

– ธุรกิจให้บริการ Web Hosting

– ธุรกิจแหล่งตัวกลางขายสินค้าและบริการ (E-Marketplace)

 

รายรับรายจ่ายต้องทำบัญชีไว้ตลอด

การจัดการภาษีขายของออนไลน์ หรือการวางแผนภาษีที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งคือ พ่อค้าแม่ค้าขายของออนไลน์ที่รายได้จากการขายของออนไลน์ ควรทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ โดยแยกตามรูปแบบการเสียภาษีดังนี้

1.บุคคลธรรมดา ควรจดบันทึก ทำบัญชีรายรับรายจ่ายไว้ตลอด เพื่อให้ทราบรายละเอียดในแต่ละธุรกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถทำบันทึกรายรับรายจ่ายและยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยตนเองได้

2.นิติบุคคล กฎหมายกำหนดว่า ผู้มีรายได้ที่จดทะเบียนนิติบุคคลจะต้องมีการทำบัญชีภาษี เพื่อบันทึกรายการค้าขายต่างๆ ที่เกิดขึ้นของกิจการ จำแนกและสรุปผลให้ได้ข้อมูลทางบัญชี เพื่อนำส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรด้วย

ดังนั้น การทำบัญชีสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนนิติบุคคล จำเป็นต้องมีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด รวมถึงใช้บริการผู้สอบบัญชีอิสระเข้ามาช่วยตรวจสอบเซ็นรับรองงบการเงินประจำปีด้วย ซึ่งสามารถจ้างสำนักงานบัญชีดูแลเรื่องการจัดทำบัญชีให้ก็ได้เช่นกัน

 

สุดท้าย… อย่าลืมแยกบัญชีธุรกิจออกจากบัญชีส่วนตัว

สุดท้าย! อย่าลืมแยกบัญชีธุรกิจออกจากบัญชีส่วนตัว เพื่อให้สะดวกและรวดเร็วต่อการยื่นภาษี โดยหากขายของออนไลน์ในนามบุคคลธรรมดา รายรับรายจ่ายส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจ ควรแยกบัญชีออกมาต่างหาก ส่วนนิติบุคคลควรเปิดบัญชีธนาคารในชื่อบริษัท เพื่อใช้เป็นบัญชีหลักในการนำเงินที่เกิดจากการขายของออนไลน์ฝากเข้า-ถอนออก และไม่ใช้บัญชีส่วนตัวรวมกับบัญชีธุรกิจ เนื่องจากจะไม่เห็นผลประกอบการที่แท้จริง หรือเมื่อกรมสรรพากรตรวจเอกสารจะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือได้

 

 

 

Facebook
Email
Print
อ่านเพิ่มเติม