ผู้ประกอบการควรวางแผน ภาษีประกันคีย์แมน อย่างไรบ้าง

รับทำบัญชี อัตราค่าบริการ รายเดือน เริ่มต้น 1,000 บาท ปิดงบ ภงด 50 ภงด 51 โดย CPA ทีมงานคุณภาพ ตรงเวลา ราคาถูก สำนักงานบัญชี กรุงเทพ เชื่อถือได้

ผู้ประกอบการควรวางแผน ภาษีประกันคีย์แมน อย่างไรบ้าง

หลายกิจการที่เคยได้ยินหรือได้รับข้อมูลมา อาจมีคำถามว่าจะทำประกันคีย์แมนไปเพื่ออะไร ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับประกันคีย์แมนเบื้องต้นกันก่อนว่า ประกันคีย์แมนเป็นประกันชีวิตที่บริษัทเป็นผู้จ่ายเบี้ยให้กับบุคคลสำคัญขององค์กร แล้วบริษัทนำเบี้ยประกันมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสีย ภาษีประกันคีย์แมน ได้อย่างไร   

เมื่อบริษัทเลือกทำประกันคีย์แมนให้กับบุคลากรคนสำคัญ บริษัทจะได้รับประโยชน์จากการสร้างค่าใช้จ่ายที่ถูกต้อง มาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อประหยัดภาษีนิติบุคคล ทั้งนี้อย่าลืมแจ้งบุคลากรคนสำคัญเหล่านั้นถึงภาระหน้าที่ทางภาษีบุคคลธรรมดา เพื่อจะได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง แต่ทราบหรือไม่ว่ามีผลประโยชน์ทางภาษีและเงื่อนไขที่อย่างไรบ้าง ลองมาติดตามอ่านได้จากบทความที่จะนำเสนอดังต่อไปนี้

ทำไมควรวางแผน ภาษีประกันคีย์แมน ให้บุคคลสำคัญ

การวางแผน ภาษีประกันคีย์แมน เป็นการบริหารการเสียภาษีอากรของธุรกิจเพื่อให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ยังลดต้นทุนให้ต่ำลงภายใต้เงื่อนไขที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการดำเนินงานอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันภาระที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตของธุรกิจ

นอกจากนี้จะเห็นได้ว่ามีเจ้าของธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่ดำเนินธุรกิจแบบคนเดียว และแบบที่เป็นกรรมการ บริษัท โดยจะมีภาระผูกพันทั้งที่เป็นเจ้าของบริษัท หรือในฐานะพนักงานคนสำคัญคนหนึ่งของบริษัท ที่มีครอบครัวของตนเองต้องรับผิดชอบ ซึ่งในฐานะกรรมการบริษัทที่มีภาระและข้อผูกมัดต้องรับผิดชอบกับบริษัท รวมถึงความอยู่รอดของกิจการ พนักงาน พันธมิตร เจ้าหนี้ ลูกหนี้ เป็นต้น และหากกรรมการหรือบุคคลสำคัญท่านใดท่านหนึ่งเกิดเสียชีวิตไปก่อนวัยอันควรแบบกะทันหัน ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมากในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวของตนเอง ธุรกิจที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้น และกลุ่มบุคคลทั้งหลายที่ได้กล่าวมาข้างต้น

ดังนั้นการที่กรรมการและบุคคลสำคัญทุกท่านได้ทำประกันคีย์แมน เพื่อเป็นการเตรียมเงินสดสำรองสำหรับตนเอง ครอบครัว และกิจการของตนเองได้อย่างดีที่สุดหากเกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันอีกด้วย 

ปรับ ภาษีประกันคีย์แมน ให้เป็นรายจ่าย

บริษัทที่จ่ายเบี้ยประกันคีย์แมนให้กับบุคคลสำคัญของบริษัท ได้แก่ ประธาน กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง หรือเจ้าหน้าที่ผู้มีทักษะพิเศษ สามารถหักเบี้ยประกันทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ 100% และถูกต้องตามประมวลรัษฎากร ซึ่งมีข้อกฎหมายรับรอง ทั้งนี้ยังมีผลตอบแทนจากกรมธรรม์ได้รับการยกเว้นภาษีอีกด้วย ซึ่งภาษีบุคคลธรรมดาสามารถให้นิติบุคคลจ่ายแทนได้ แต่กรรมการจะต้องรวมเบี้ยประกันไว้ในรายได้เพื่อวัตถุประสงค์ในการคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาในปีที่ชำระเบี้ยประกันภัย โดยใบเสร็จค่าเบี้ยประกันภัยสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาได้ 

ดังนั้นเบี้ยประกันที่กิจการจ่ายไปจะถูกคิดเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการทำให้กำไรสุทธิและภาษีนิติบุคคลของกิจการลดลง ส่วนบุคคลสำคัญที่เป็นผู้เอาประกันค่าเบี้ยประกันนั้นจะถูกรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกด้วย ดังนั้นสำหรับบริษัทที่บุคคลสำคัญเป็นเจ้าของกิจการ อาจพิจารณาเลือกเพิ่มค่าใช้จ่ายบริษัทในรูปแบบค่าเบี้ยประกันเพื่อลดกำไรสุทธิที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอัตรา 20% ไปเป็นรายได้กรรมการ ซึ่งหากรวมกับรายได้อื่นแล้วกรรมการมีรายได้ไม่เกินปีละ 910,000 บาท ก็จะยังมีฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ถึง 20% ซึ่งต่ำกว่าอัตราภาษีนิติบุคคล

อีกทั้งเบี้ยประกันคีย์แมนที่เหมาะสม บริษัทต้องจ่ายไม่เกิน 5% ของรายได้ทั้งปี หรือไม่ควรเกิน 20% ของกำไรสุทธิ ขึ้นกับว่ายอดใดน้อยกว่า เช่น บริษัทมีรายได้ต่อปี 10 ล้านบาท กำไร 2 ล้านบาท ดังนั้น 5% ของรายได้คือ 500,000 บาท และ 20% ของกำไรคือ 400,000 บาท จากตัวอย่างนี้บริษัทควรซื้อประกันคีย์แมนให้กับบุคคลสำคัญทุกคน โดยจ่ายเบี้ยประกันรวมกันทุกคนไม่เกินปีละ 400,000 บาท เป็นต้น (ข้อมูลจาก https://www.kasikornbank.com/th/kwealth/pages/a192-insurance-biz-keyman.aspx)

วิธีการคำนวณเบี้ยประกันคีย์แมน

การที่นิติบุคคลทำสวัสดิการให้กับกรรมการโดยนิติบุคคลเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันให้กับกรรมการผู้ที่เป็นบุคคลสำคัญของบริษัท ซึ่งเป็นการเพิ่มความมั่นคงและยังเป็นการวางแผนทางด้านการเงินและภาษีของนิติบุคคลเพราะสามารถนำเบี้ยที่จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายของนิติบุคคลได้ ดังนั้นกิจการทราบหรือไม่ว่าการคำนวณเบี้ยประกันคีย์แมนอย่างไรบ้าง สามารถดูได้จากตัวอย่างด้านล่างดังนี้

กิจการ Z  มีรายได้ 10 ล้านบาท และมีกำไร 2 ล้านบาท
นำมาคำนวณรายได้    10,000,000 x 5% =  500,000 บาท
หาเบี้ยประกันที่เหมาะสม 2,000,000×20% = 400,000 บาท
ดังนั้น เบี้ยประกันที่เหมาะสม สำหรับกิจการ Z อยู่ที่ 400,000 บาท ของบุคคลสำคัญทุกคน

หมายเหตุ : อัตราภาษีนิติบุคคลของแต่ละบริษัทไม่เท่ากันเนื่องจากอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจและผลประกอบการของบริษัท (ข้อมูลจาก สมาคมประกันชีวิตไทย)

ดังนั้นภาษีประกันคีย์แมนจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้กิจการลงทุนได้อย่างมั่นใจ และช่วยให้กิจการเติบโต หากกิจการใช้บริการภาษีประกันคีย์แมนแต่ไม่แน่ใจว่าได้คำนวณหรือส่งภาษีกันถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ แนะนำให้กิจการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการบัญชีและภาษีเพื่อให้เจ้าของกิจการมั่นใจว่าสามารถบริหารการเงินและภาษีได้อย่างตรงจุด โดยต้องบอกเล่าเจตนาทางการเงินของกิจการให้เข้าใจและถูกต้องให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการบัญชี เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ 

 

Facebook
Email
Print
อ่านเพิ่มเติม