จดทะเบียนพาณิชย์ เพื่ออะไร ธุรกิจแบบไหนที่ต้องจด

จดทะเบียนพาณิชย์ เพื่ออะไร ธุรกิจแบบไหนที่ต้องจด

การจดทะเบียนพาณิชย์ เป็นการจดทะเบียนร้านค้าสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่ทำธุรกิจค้าขายตามประเภทที่กฎหมายกำหนด และมีหน้าร้าน ซึ่งใช้กับธุรกิจค้าขายและบริการขนาดเล็ก กิจการที่มีเจ้าของเพียงคนเดียว ทำการค้าขายแบบง่ายไม่ซับซ้อน 

หรือเป็นนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจค้าขายและบริการตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด โดยข้อมูลจะประกอบด้วย ธุรกิจที่บังคับต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ธุรกิจที่ได้รับการยกเว้น และหลักเกณฑ์ เงื่อนไขในการจดทะเบียนพาณิชย์ สามารถสรุปข้อมูลได้ดังนี้

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจดทะเบียนพาณิชย์

ในการขอจดทะเบียนพาณิชย์นั้น จะมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการยื่นคำขอ ดังนี้

1.ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับแต่วัน เริ่มประกอบธุรกิจ หรือวันที่เลิกประกอบธุรกิจ ตามแต่กรณี

2.ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผย

3.ต้องจัดให้มีป้ายชื่อไว้ที่หน้าสำนักงานใหญ่และสาขา ให้เขียนเป็นอักษรไทยอ่านได้ง่ายและชัดเจนจะมีอักษรต่างประเทศไว้ด้วยก็ได้

4.ต้องยื่นคำขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สูญหาย หรือชำรุด

5.ต้องไปพบนายทะเบียนพาณิชย์ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่และยินยอมให้ถ้อยคำในการสอบสวนข้อความอันเกี่ยวกับการจดทะเบียนพาณิชย์

6.ต้องอำนวยความสะดวก เมื่อมีการไปตรวจในสำนักงาน

ธุรกิจที่บังคับต้องจดทะเบียนพาณิชย์มีอะไรบ้าง

1.ธุรกิจห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ มีดังนี้

ธุรกิจโรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่งงาช้า และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

-ธุรกิจการให้บริการตู้เพลง

ธุรกิจการให้บริการเครื่องเล่นเกม

ธุรกิจการให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ

-ธุรกิจการให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต

ธุรกิจบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ธุรกิจให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย

ธุรกิจขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต ผ่านซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผนวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง

ธุรกิจซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ธุรกิจขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี

2.บุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศมาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ มีดังนี้

ธุรกิจบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ธุรกิจให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย

ธุรกิจบริการอินเตอร์เน็ต ธุรกิจให้บริการตู้เพลง

ธุรกิจซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ธุรกิจโรงงานแปรสภาพ แกะสลักและงานหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกและค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

-ธุรกิจให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงคาราโอเกะ

ธุรกิจเกี่ยวกับโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร

ธุรกิจขายสินค้าอย่างเดียวหรือหลายอย่างที่ขายได้ 20 บาทขึ้นไปต่อวัน หรือมีสต็อกสินค้าไว้ขายรวมมูลค่าทั้งหมดเป็นเงิน 500 บาทขึ้นไป

นายหน้าหรือตัวแทนขายที่ทำการเกี่ยวกับสินค้าอย่างเดียวหรือหลายอย่าง และสินค้านั้นมีมูลค่ารวมทั้งหมดในวันหนึ่งวันใดเป็นเงิน 20 บาทขึ้นไป

-ธุรกิจหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมอย่างเดียวหรือหลายอย่าง ที่ขายสินค้าที่ผลิตวันหนึ่งวันใดได้ 20 บาทขึ้นไป หรือวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตรวมมูลค่าทั้งหมด 500 บาทขึ้นไป

ธุรกิจขนส่งทางทะเล ขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง รถไฟ รถราง รถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำและการทำโรงแรม การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน

ธุรกิจที่ได้รับยกเว้นการจดทะเบียนพาณิชย์

1.การค้าหาบเร่ แผงลอย

2.กิจการเพื่อการกุศลหรือการบำรุงพระพุทธศาสนา

3.กิจการนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น 

  1. กิจการของกระทรวง ทบวง กรม 

5.กิจการมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์

6.พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์

กรณีเป็นเจ้าบ้าน / เจ้าของกรรมสิทธิ์ 

-คำขอจดทะเบียนพาณิชย์

-สำเนาบัตรประจำประชาชน

-สำเนาทะเบียนบ้าน

-แผนที่ตั้ง และภาพถ่ายกิจการอย่างน้อย 2 ภาพ

กรณีเป็นผู้อาศัย (ไม่ได้เช่า)

-หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่

-สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ใช้สถานที่)

-สำเนาทะเบียนบ้าน (เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ใช้สถานที่)

กรณีเป็นสถานที่เช่า

-สำเนาสัญญาเช่า

-สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีเป็นเจ้าของสถานที่ให้เช่า)

-สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีเป็นเจ้าของสถานที่ให้เช่า)

จากข้อมูลทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้น เจ้าของธุรกิจค้าขายและบริการตามที่กฎหมายกำหนด จึงควรเตรียมเอกสารให้พร้อม ครบถ้วน แล้วยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ดังที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 

ดังนั้น ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่มีเวลา อีกทั้งอาจยังสับสนเรื่องเอกสารที่ใช้จดทะเบียนพาณิชย์ รู้หรือไม่ว่าสำนักงานบัญชีที่รับจดทะเบียนนิติบุคคล ยังมีบริการรับจดทะเบียนพาณิชย์ด้วยเช่นกัน ซึ่งสามารถขอคำปรึกษาและให้สำนักงานบัญชีจดทะเบียนพาณิชย์ให้ได้

อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนพาณิชย์นั้นไม่ได้มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เพียงแค่เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน และไปดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ที่สถานที่รับจดทะเบียน หรือจะทำการจดทะเบียนพาณิชย์ออนไลน์ก็ได้เช่นกัน เพื่อให้ธุรกิจเปิดได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีความน่าเชื่อถือ และไม่เกิดข้อผิดพลาดตามมาจนต้องรับโทษตามกฎหมาย 

Facebook
Email
Print
อ่านเพิ่มเติม