ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องรู้! เมื่อจดทะเบียนบริษัท

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีสำหรับกิจการที่จดทะเบียนนิติบุคคลเท่านั้น ที่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ เมื่อมีการจ่ายเงินตามประเภทและอัตราที่กฎหมายกำหนด ก่อนจ่ายเงินให้กับผู้รับ พร้อมกับนำส่งกรมสรรพากร ส่วนผู้รับเงินทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลก็จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ โดยยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่กิจการควรรู้อีกดังนี้

ทำความเข้าใจ ใครบ้างต้องหักและถูกหัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือที่คุ้นเคยคือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีรูปแบบหนึ่งในความรับผิดชอบของกรมสรรพากร ซึ่งผู้จ่ายที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องหักไว้ก่อนจ่ายเงินให้กับผู้รับ ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จากนั้นนำเงินที่หักไว้ส่งให้กรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของทุกเดือน หรือยื่นออนไลน์ถึงวันที่ 15 ของทุกเดือน

โดยนิติบุคคลเมื่อมีการใช้บริการหรือมีลูกจ้าง จะต้องมีหน้าที่ในการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หากกิจการไม่หักไว้ จะถือว่าเป็นความผิดของกิจการ หรือบางครั้งเจอคู่ค้าที่ไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย แนะนำว่าควรเปลี่ยนเจ้า เพราะตามหลักการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย   

และหลังจากหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว จะต้องยื่น ภ.ง.ด.3 กับ ภ.ง.ด.53 โดยมีความแตกต่างกันคือ

  • ภ.ง.ด.53 เป็นการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับนิติบุคคล ทั้งบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
  • ภ.ง.ด.3 เป็นการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับบุคคลธรรมดา เช่น มีการจ้างลูกจ้างรายวันหัก 3% แล้วนำส่ง ภ.ง.ด.3 ให้กับกรมรรพากรในเดือนถัดไป

ดังนั้น หากใครได้รับเงินตามประเภทที่กฎหมายกำหนดจากผู้จ่ายนิติบุคคล จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ถึงแม้ว่าตนเองจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือจดทะเบียนบริษัทนิติบุคคลก็ตาม

รายจ่ายนิติบุคคลลักษณะใดบ้างที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับนิติบุคคลในฐานะผู้จ่ายเงิน จะต้องหักเงินไว้ส่วนหนึ่งตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ซึ่งแตกต่างกันตามประเภทเงินที่จ่าย ดังนี้

  • ค่าจ้างและเงินเดือน ถ้าเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับยกเว้นหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือต่ำสุด 0%  
  • จ้างทำงานหรือบริการ เช่น นายหน้าขายของ ได้ส่วนแบ่งค่าคอม จะใช้วิธีคำนวณเหมือนค่าจ้างและเงินเดือน หักภาษี ณ ที่จ่ายต่ำสุด 0%
  • จ้างบริการวิชาชีพอิสระ ภาษีในกลุ่มนี้จะประกอบไปด้วย 6 วิชาชีพเท่านั้น คือ 1) โรคศิลปะ เช่น กลุ่มเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม 2) ประณีตศิลป์ 3) สถาปนิก 4) วิศวกร 5) นักบัญชี 6) ทนายความ ซึ่งนิติบุคคลผู้ว่าจ้างจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%   
  • จ้างรับเหมาหรือบริการ เช่น การจ้างผลิตสินค้า จ้างทำนามบัตร จ้างรีวิวสินค้า ทำกราฟิก รวมถึงค่าอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ (ต่างจากจ้างทำงาน หรือบริการ ตรงที่จ้างรับเหมา หรือบริการ ผู้ถูกจ้างจะต้องใช้หรือไปหาอุปกรณ์ของตัวเองมาเพื่อดำเนินการตามสิ่งที่ได้รับการว่าจ้าง) ผู้ว่าจ้างจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
  • ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ นิติบุคคลผู้เช่าจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 5%
  • ค่าโฆษณา หากต้องการทำโฆษณาเพื่อโปรโมตแบรนด์ บริษัทของตนเอง โดยจ้างผ่านบริษัทรับทำโฆษณา เอเจนซี่ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 2%
  • ค่าขนส่ง สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล และให้บริการด้านการขนส่ง จะต้องไปขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง และนิติบุคคลผู้ว่าจ้างมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%

สินค้าและบริการแบบไหนได้รับยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย และการจัดทำเอกสาร

กฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในบางลักษณะไม่ต้องถูกหักภาษี เช่น หากสินค้าหรือบริการยอดเงินไม่ถึง 1,000 บาทในการจ่ายเงินแต่ละครั้ง นิติบุคคลผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษี แต่ถ้าหากมีการจ่ายอย่างต่อเนื่องแม้ยอดเงินแต่ละครั้งจะไม่ถึง 1,000 บาท ผู้จ่ายจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย เช่น ค่าบริการโทรศัพท์ต้องจ่ายทุกเดือนแม้ยอดแต่ละครั้งไม่ถึง 1,000 บาท แต่รวมกันหลายยอดแล้วเกิน 1,000 บาท

และหลังจากนิติบุคคลผู้จ่ายเงิน หรือผู้ที่มีหน้าที่เป็นคนหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้ทำการหักเงินแล้ว จะต้องจัดทำและมอบเอกสาร “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” (50 ทวิ) เพื่อเป็นหลักฐานในการหักเงินไว้ โดยออกเอกสารให้ผู้รับเงิน 2 ฉบับ และเก็บไว้ที่ผู้จ่ายเพื่อเป็นหลักฐานอย่างน้อย 1 ฉบับด้วย ส่วนผู้รับเงิน หรือผู้ที่ถูกหักเงินไป จะใช้หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) นี้ เพื่อเป็นหลักฐานยื่นแก่กรมสรรพากร เพื่อลดภาษีตามจำนวนที่ถูกหักไประหว่างปี

สุดท้าย…ผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายได้ ต้องเป็นนิติบุคคลเท่านั้น

สุดท้ายแล้วสามารถสรุปได้ว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สามารถทำได้เฉพาะกิจการที่จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคลเท่านั้น จึงจะสามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ ซึ่งหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และผู้ที่จ่ายเงินก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทันทีทุกครั้งก่อนจ่ายเงินให้กับผู้รับ ถ้าไม่หักหรือยื่นส่งสรรพากรไม่ตรงตามความเป็นจริง จะถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย และยังมีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่ต้องจ่ายหากหักไว้ไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง

ส่วนผู้รับเงินตามประเภทต่างๆ ที่กำหนดข้างต้น จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามอัตราภาษีที่กำหนดแต่ละประเภท โดยภาษีที่ถูกหักไปเท่าไหร่นั้น เมื่อยื่นภาษีสิ้นปีพบว่ารายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องจ่ายภาษี ก็สามารถยื่นขอเงินคืนได้ หรือในกรณีที่ยื่นภาษีแล้วต้องมีการจ่ายภาษีเพิ่ม ก็จะช่วยให้จ่ายน้อยลงเนื่องจากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปบางส่วนแล้ว ถือเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระในการจ่ายภาษีของผู้มีรายได้

ติดต่อ PM Accounting เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมในการจดทะเบียนบริษัทหรือจัดการยื่นภาษี

อ่านเพิ่มเติม : การหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราตามการหักค่าใช้จ่ายเฉพาะกิจการ 43

ติดต่อเรา

  • สถานที่ : 1239/144 หมู่บ้าน เดอะ มิราเคิล ซอยเพชรเกษม 63
  • เบอร์โทร : 082-441-6529
  • Email : pm.audit.acc@gmail.com
  • Website : https://pmaccounting.net

ติดต่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

Facebook
Email
Print
อ่านเพิ่มเติม