ในฐานะที่ผู้ประกอบการหลายๆ คนจะต้องเผชิญกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ทั้งในฐานะผู้ถูกหักภาษีและนิติบุคคลที่หักภาษี ณ ที่จ่ายเอง บทความนี้จะช่วยเจาะลึกเข้าไปในรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยเฉพาะการจัดการตามเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1-8) ซึ่งจะอธิบายให้เข้าใจง่ายและชัดเจน
หัวข้อ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร และใครต้องจ่าย?
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการหักภาษีที่เกิดจากการจ่ายเงินให้กับผู้รับเงิน โดยผู้จ่ายที่เป็นนิติบุคคลจะต้องจดทะเบียนและหักเงินภาษีไว้ส่วนหนึ่งก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน ซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือบุคคลนิติบุคคล โดยวัตถุประสงค์ของการหักภาษี ณ ที่จ่ายคือเพื่อแบ่งเบาภาระการจ่ายภาษีของผู้มีเงินได้ ซึ่งทำให้พวกเขาไม่ต้องจ่ายภาษีเป็นจำนวนมากในคราวเดียวกันเมื่อถึงเวลายื่นแบบภาษี
การหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินที่จ่ายให้ผู้รับเงิน โดยต้องส่งเงินที่หักภาษีไปยังกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของทุกเดือน หรือยื่นออนไลน์ถึงวันที่ 15 ของทุกเดือน หากไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าเป็นความผิดของกิจการ
กรณีที่ลูกจ้างประจำผู้รับเงินมีจำนวนภาษีที่ต้องนำส่งจริงน้อยกว่าภาษีที่ต้องหัก ผู้จ่ายเงินในฐานะนายจ้างจะไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
เงินได้พึงประเมินมาตราไหน ต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อย่างไร?
ในกิจการมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน บางประเภทต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและบางประเภทไม่ต้องหัก โดยสำหรับเจ้าของกิจการนิติบุคคลที่เป็นผู้จ่ายเงิน ต้องหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายไว้ก่อนจ่ายให้ผู้รับ ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทเงินได้พึงประเมิน โดยมีรายละเอียดดังนี้:
ประเภทเงินได้พึงประเมิน | จ่ายบุคคลธรรมดา | จ่ายนิติบุคคล |
---|---|---|
1. มาตรา 40(1) เงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน | หักอัตราก้าวหน้า | หัก 3% |
2. มาตรา 40(2) การรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า | หักอัตราก้าวหน้า | หัก 3% |
3. มาตรา 40(3) ลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิ์อื่น | หักตามอัตราภาษีที่กำหนด | หัก 3% |
4. มาตรา 40(4)(ก) ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม | หัก 15% | หัก 1% |
5. มาตรา 40(4)(ข) เงินปันผล | หัก 10% | หัก 10% |
6. มาตรา 40(5) ค่าเช่า เช่น ค่าเช่าทรัพย์สิน | หัก 5% | หัก 5% |
7. มาตรา 40(6) วิชาชีพอิสระ เช่น หมอ นักบัญชี | หัก 3% | หัก 3% |
8. มาตรา 40(7) รับเหมาฯ | หัก 3% | หัก 3% |
9. มาตรา 40(8) รับจ้าง | หัก 3% | หัก 3% |
10. มาตรา 40(8) โฆษณา | หัก 2% | หัก 2% |
11. มาตรา 40(8) แข่งขัน | หัก 5% | หัก 5% |
12. มาตรา 40(8) ชิงโชค | หัก 5% | หัก 5% |
13. มาตรา 40(8) นักแสดง | หัก 5% | – |
14. มาตรา 40(8) รางวัลตามเป้าส่งเสริมการขาย | หัก 3% | หัก 3% |
15. มาตรา 40(8) ขนส่ง | หัก 1% | หัก 1% |
16. มาตรา 40(8) ประกันภัย | หัก 1% | หัก 1% |
17. มาตรา 40(8) บริการอื่นๆ | หัก 3% | หัก 3% |
แบบไหนได้ยกเว้นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ในกรณีที่นิติบุคคลมียอดค่าใช้จ่ายสินค้าหรือบริการที่ยอดเงินไม่ถึง 1,000 บาทในการจ่ายแต่ละครั้ง ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่มีข้อยกเว้นในบางกรณี เช่น หากมีการจ่ายอย่างต่อเนื่องแม้ยอดเงินแต่ละครั้งจะไม่ถึง 1,000 บาท ผู้จ่ายก็จะต้องหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอยู่ดี เช่น ค่าบริการโทรศัพท์ที่ต้องจ่ายทุกเดือน ถึงแม้ยอดแต่ละครั้งจะไม่ถึง 1,000 บาท แต่รวมกันหลายยอดแล้วเกิน 1,000 บาท
หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายด้วย
หลังจากที่ผู้มีรายได้ตามประเภทเงินได้พึงประเมินถูกหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว ผู้ถูกหักภาษีจะต้องขอใบรับรองหัก ณ ที่จ่ายจากนิติบุคคลที่หักเงินของตน เพื่อที่จะนำไปลดภาษีตอนสิ้นปีได้ โดยทั่วไปผู้จ่ายเงินจะต้องจัดทำและมอบเอกสาร หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ให้กับผู้รับเงิน เพื่อเป็นหลักฐานในการหักเงินไว้ โดยจะต้องออกเอกสารให้ผู้รับเงิน 2 ฉบับ รวมถึงเก็บไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย 1 ฉบับ
ผู้รับเงินหรือผู้ที่ถูกหักเงินไป สามารถใช้หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษีต่อกรมสรรพากร และสามารถลดภาษีตามจำนวนที่ถูกหักไประหว่างปีได้ หรือหากมีภาษีที่จ่ายล่วงหน้าไว้เกินก็สามารถขอคืนภาษีได้
สรุป
เรื่องของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอาจมีความซับซ้อนในรายละเอียด เนื่องจากในปัจจุบันมีธุรกิจและอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น การเปรียบเทียบกับประเภทเงินได้พึงประเมินตามที่กฎหมายกำหนดอาจเกิดความสับสนได้ ดังนั้น ควรใช้บริการจากนักบัญชีผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการคำนวณภาษี และทำให้การดำเนินกิจการเป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย
ติดต่อเรา
- สถานที่ : 1239/144 หมู่บ้าน เดอะ มิราเคิล ซอยเพชรเกษม 63
- เบอร์โทร : 082-441-6529
- Email : pm.audit.acc@gmail.com
- LINE : https://line.me/ti/p/@pmac
- Website : https://pmaccounting.net