การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2567 (สำหรับยื่นในปี 2568)

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2567 (สำหรับยื่นในปี 2568)

เกริ่นนำ

เจ้าของธุรกิจ SME ทุกท่าน บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านบัญชี

เงินได้ที่ต้องนำมาคำนวณภาษี

สำหรับเจ้าของกิจการ

  • กำไรจากธุรกิจ – รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ หักด้วยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
  • เงินปันผล – หากธุรกิจของคุณจดทะเบียนเป็นบริษัท และมีการจ่ายเงินปันผล
  • ค่าเช่า – กรณีให้เช่าอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นๆ
  • ดอกเบี้ยรับ – จากเงินฝากธนาคารหรือการให้กู้ยืม
  • เงินเดือน – รายได้ที่มาการทำงานประจำ

การคำนวณกำไรจากธุรกิจตามประเภทกิจการ

โดยคำนวณจากสมการ เงินได้สุทธิ = รายได้ทั้งปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
จากนั้นนำเงินได้สุทธิ ไปเทียบในตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ว่าจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ โดยเป็นการเทียบแบบขั้นบรรได

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2567

เงินได้สุทธิ (บาท) อัตราภาษี
0 – 150,000 ยกเว้น
150,001 – 300,000 5%
300,001 – 500,000 10%
500,001 – 750,000 15%
750,001 – 1,000,000 20%
1,000,001 – 2,000,000 25%
2,000,001 – 5,000,000 30%
5,000,001 ขึ้นไป 35%

ค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษี

มาตรา ประเภทเงินได้ อัตราหักค่าใช้จ่าย หมายเหตุ
40(1) เงินเดือน ค่าจ้าง 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ได้รับยกเว้น 190,000 บาทแรก
40(2) ค่าตอบแทนจากการรับทำงานให้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
40(3) ค่าลิขสิทธิ์ 50%
ค่าสิทธิบัตร ตามจริง หรือ 50%
40(4) ดอกเบี้ย เงินปันผล ไม่สามารถหักค่าใช้จ่าย เงินปันผลเลือกเสียภาษี 10% หรือนำไปรวมคำนวณได้ โดยใช้เครดิตภาษีเงินปันผล
40(5) ค่าเช่าทรัพย์สิน
– บ้าน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง 30%
– ที่ดินเกษตรกรรม 20%
– ที่ดินอื่นๆ 15%
– ยานพาหนะ 30%
– ทรัพย์สินอื่นๆ 10%
40(6) วิชาชีพอิสระ – แพทย์ 60%
วิชาชีพอิสระอื่นๆ: 30% – กฎหมาย
– บัญชี
– สถาปัตยกรรม
– วิศวกรรม
– ศิลปะ/วรรณกรรม
40(7) ผู้รับเหมา ตามจริง หรือ 60%
40(8) ธุรกิจ/พาณิชย์/เกษตร ตามจริง หรือ เหมา 60% การหักค่าใช้จ่ายเหมาต้องเป็นไปตามมาตรา 43 เท่านั้น

ค่าลดหย่อนพื้นฐาน

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว: 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส: 60,000 บาท (กรณีคู่สมรสไม่มีรายได้)
  • ค่าลดหย่อนบุตร: 30,000 บาท/คน (ไม่จำกัดจำนวนบุตร)

กำหนดการยื่นแบบและชำระภาษี

  • ภ.ง.ด.94 (สำหรับผู้มีเงินได้จากธุรกิจ): ยื่นภายในเดือนมีนาคม 2568
  • ภ.ง.ด.90 (สำหรับผู้มีเงินได้จากเงินเดือน): ยื่นภายในเดือนมีนาคม 2568
  • สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวด (เมษายน – มิถุนายน 2568)

คำแนะนำเพิ่มเติม

  1. เก็บเอกสารให้ครบ: ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี และหลักฐานการจ่ายเงินทุกรายการ
  2. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ: หากมีข้อสงสัยควรปรึกษานักบัญชีหรือที่ปรึกษาภาษี
  3. ติดตามการเปลี่ยนแปลง: กฎระเบียบด้านภาษีอาจมีการเปลี่ยนแปลง ควรติดตามข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ


ความสำคัญของภาษีหัก ณ ที่จ่ายมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องการทำบัญชีและวางแผนภาษี
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2567 (สำหรับยื่นในปี 2568)
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2567 (สำหรับยื่นในปี 2568) เกริ่นนำ เจ้าของธุรกิจ SME ทุกท่าน บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้...
จดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง VS จ้างสำนักงานบัญชี ข้อดี-ข้อเสียที่ควรรู้
งบกระแสเงินสด เครื่องมือสำคัญในการบริหารการเงินธุรกิจ
งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement) เป็นหนึ่งในงบการเงินที่สำคัญที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจและผู้จัดการการเงินสามารถเข้าใจถึ...
จดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง VS จ้างสำนักงานบัญชี ข้อดี-ข้อเสียที่ควรรู้
ภาษีป้าย สิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรรู้เกี่ยวกับการจัดการภาษีป้ายอย่างถูกต้อง
ภาษีป้าย (Sign Tax) เป็นหนึ่งในภาษีที่ธุรกิจทุกประเภทที่มีการติดตั้งป้ายแสดงชื่อร้านค้า โลโก้ หรือโฆษณาสินค้าและบริการต้...
Restaurant Owner Checking Reports
5 สำนักงานบัญชีกรุงเทพฯ ที่โดดเด่นและน่าใช้บริการ
หากคุณกำลังมองหาสำนักงานบัญชีในกรุงเทพฯ ที่มีความเชี่ยวชาญและพร้อมช่วยคุณจัดการด้านบัญชีและภาษี บทความนี้ได้รวบรวม 5 สำน...
จดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง VS จ้างสำนักงานบัญชี ข้อดี-ข้อเสียที่ควรรู้
การยื่นแบบ ภ.ง.ด. แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาภาษี
การยื่นแบบ ภ.ง.ด. หรือแบบแสดงรายการภาษีเป็นหน้าที่ที่สำคัญสำหรับทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลในประเทศไทย การปฏิบัติตามขั้น...
จดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง VS จ้างสำนักงานบัญชี ข้อดี-ข้อเสียที่ควรรู้
กฎหมายภาษี พื้นฐานและสิ่งสำคัญที่ธุรกิจและบุคคลควรรู้
กฎหมายภาษีถือเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของระบบเศรษฐกิจที่ช่วยให้ประเทศสามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาและให้บริการแก่ประชาชนได้อ...
Lode More